หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม |
||
สารบัญ | ||
หน่วยที่ 4 | การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมโลก | ||
ปรากฏการณ์เรือนกระจก greenhouse effect | ||
หมายถึง ภาวะที่ชั้นบรรยากาศสะสมแก๊สเรือนกระจกไว้เป็นจำนวนมาก ทำให้กั้นรังสีความร้อนไว้ไม่ให้สะท้อนออกจากโลก ส่งผลให้บรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น เป็นปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น อันเนื่องมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วง ความยาวคลื่น อินฟราเรดที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ กาซมีเทน คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon- CFCs) ไนตรัสออกไซด์ ในบรรยากาศ |
||
ทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น การถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆ กันไป ในบรรยากาศ ทำให้โมเลกุลเกิดการสั่น การเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชนถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน |
||
ประเทศในเขตหนาวมีการเพาะปลูกพืชโดยอาศัยการควบคุมอุณหภูมิความร้อนโดยใช้หลักการที่พลังงาน ความร้อนจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก แต่ความร้อนที่อยู่ภายในเรือนกระจกไม่สามารถสะท้อนกลับออกมา ทำให้อุณหภุมิภายในสูงขึ้นเหมาะแก่การเพาะปลูกของพืช จึงมีการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนี้ว่า "ภาวะเรือนกระจก" greenhouse effect |
||
|
||
ก๊าซที่มีบทบาทในการทำให้เกิดปรากฏการณ์ให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น |
||
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ carbon dioxide หรือ CO2 เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุด ผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงมากขึ้น ในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์ อาทิ การเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาไม้ทำลายป่า การผลิตปูนซีเมนต์ |
||
2. ก๊าซมีเทน Methane CH4 เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากมูลสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย การเผาไหม้เชื้อเพลิง ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ |
||
3. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ Nitrous oxide หรือ laughing gas N2O เกิดขึ้นจาก การใช้ปุ๋ยทางการเพาะปลูก มูลสัตว์ที่ย่อยสลาย การสันดาปน้ำมันเชื้อเพลิง จากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน | ||
4. คลอโรฟลู-ออโรคาร์บอน Chloroflu orocarbon- CFCs เป็นสารสังเคราะห์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม ประกอบด้วย คาร์บอน คลอรีน และฟลูออรีน ซึ่งเป็นสารที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ เป็นปรากฏการณ์ช่องโหว่ของแก๊สโอโซน เป็นภาวะของสารที่เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟลู-ออโรคาร์บอน ทำปฏิกิริยากับแก๊สโอโซน จนปริมาณแก๊สโอโซน ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ stratosphere ลดลง หรือ เกิดรูรั่ว |
||
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Klongtoei Klongtoei Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|